แพทย์แผนไทยประยุกต์ คือ แพทย์ที่ศึกษา ทฤษฎี หลักการ สมุนไพร และตำราคัมภีร์โบราณของศาสตร์การแพทย์แผนไทย แล้วนำมาประยุกต์เข้ากับศาสตร์การรักษาของแพทย์แผนตะวันตกที่ได้ศึกษามา ให้เกิดการรักษาที่มีคุณภาพสูงสุดต่อผู้ป่วย
เราสามารถที่จะเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างคำศัพท์โบราณของแพทย์แผนไทย กับ คำศัพท์ที่เป็นสากลของแพทย์แผนตะวันตกได้ เช่น โรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 4,5 หลังของแพทย์แผนไทย ก็คือ โรคออฟฟิตซินโดรมในการแพทย์แผนตะวันตก เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วเรายังมีความสามารถในการเลือกใช้สมุนไพรให้ถูกกับบุคคลแต่ละคน เพราะโรคเดียวกันแต่เป็นในคนละคนกัน ก็ไม่ใช่ว่าจะใช้ยาแบบเดียวรักษาให้หายได้ เนื่องจากในแต่ละบุคคลพื้นฐานของร่างกายที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ติดมากับเราตั้งแต่เกิด เช่น ธาตุเจ้าเรือน เป็นต้น หรือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อเราในตอนนี้ เช่น อุตุสมุฏฐาน(ฤดูกาลต่างๆในตอนนั้น) ประเทศสมุฏฐาน(ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศของที่อยู่ในตอนนั้น) เป็นต้น
สิ่งต่างๆเหล่านี้จะนำไปสู่ที่ตั้งที่แรกเกิดของโรคที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นแล้ว เหตุต่างกันออกไป แม้ว่าผลจะออกมาเหมือนกัน แต่เราก็ต้องใช้วิธีแก้ที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้แพทย์ทั้งหลายมีใบประกอบโรคศิลปะขึ้น ซึ่งคำว่า ศิลปะ ก็คือการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นมาให้แตกต่างกันออกไป นำไปสู่คำว่า “ยาเฉพาะบุคคล” การรักษาโรคในตัวผู้ป่วยจึงเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง
เกร็ดความรู้สุขภาพ : การดูแลรักษาสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์ไทยประยุกต์ "ปัญหาสุขภาพในวัยต่างๆ" เรียบเรียงโดย ทีมแพทย์แผนไทยประยุกต์ของบริษัท มังคุดไทย จำกัด และ ปิติคลินิกการแพทย์แผนไทย (การแพทย์แผนไทยประยุกต์)เพื่อเป็นข้อมูลการดูแลสุขภาพและสืบสานภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
วัยเด็ก (0-14 ปี) ไข้หวัดธรรมดา อีสุกอีใส โรคหัด
กลุ่มเยาวชนวัยรุ่น (15-24 ปี) กลากและเกลื้อน สิว ผิวแพ้ง่าย รังแคเรื้อรัง
กลุ่มวัยทำงาน (15-60 ปี) ข้อไหล่ติด พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ/รองช้ำ ปวดข้อศอก คอตกหมอน ปวดข้อมือ ริดสีดวงทวาร กรดไหลย้อน แผลในกระเพาะอาหาร สตรีวัยทอง(เพศหญิง) ผู้ชายวัยทอง(เพศชาย)
กลุ่มวัยผู้สูงอายุ (> 60) ภาวะสมองเสื่อม พาร์กินสัน อาการนอนไม่หลับ ท้องผูก
โรคทั่วไปที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย อาหารไม่ย่อย
ข้อมูลอ้างอิง สำนักที่ปรึกษา กรมอนามัยและโรงพยาบาลรามาธิบดี